วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

มารู้จักกองทุนกันเถอะ

มารู้จักกองทุนกันเถอะ

RMF เหมาะกับคนทุกกลุ่มที่ต้องการออมเงินเพื่อวัยเกษียณ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนที่ยังไม่มีสวัสดิการออมเงินเพื่อวัยเกษียณ เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) มารองรับ หรือมีสวัสดิการดังกล่าว แต่ยังมีกำลังออมเพิ่มมากกว่านั้นอีก

       นโยบาย การลงทุนของ RMF มีให้เลือกหลากหลายเหมือนกองทุนรวมทั่วไป ตั้งแต่กองทุนที่มีระดับความเสี่ยงต่ำ เน้นลงทุนในตราสารหนี้ เช่น พันธบัตร กองทุนที่มีระดับความเสี่ยงปานกลาง  ที่อาจผสมผสานระหว่างการลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน ไปจนถึงกองทุนที่มีระดับความเสี่ยงสูง เน้นลงทุนในตราสารทุน เช่น หุ้น ใบสำคัญแสดงสิทธิการซื้อหุ้น (warrant)   ข้อแตกต่างของ RMF จากกองทุนรวมทั่ว ๆ ไป ดังนี้ 
1.  หากลงทุนครบตามเงื่อนไขจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี
2.  ไม่สามารถโอน จำนำ หรือนำหน่วยลงทุนไปเป็นหลักประกันได้
3.  ไม่มีการจ่ายเงินปันผล
เงื่อนไขการลงทุนของ RMF เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี มีดังนี้
• ต้องสะสมเงินอย่างต่อเนื่องโดยซื้อหน่วยลงทุนของ RMF ไม่น้อยกว่าปีละ 1 ครั้ง
• ต้องลงทุนขั้นต่ำ 3% ของเงินได้ในแต่ละปี หรือ 5,000 บาท (แล้วแต่ว่าจำนวนใดจะต่ำกว่า) 
• ต้อง ไม่ระงับการซื้อหน่วยลงทุนเกินกว่า 1 ปีติดต่อกัน (ยกเว้นปีใดที่ไม่มีเงินได้ ก็ไม่ต้องลงทุน เนื่องจาก 3% ของเงินได้ 0 บาท เท่ากับ 0 บาท)
• การขายคืนหน่วยลงทุนทำได้เมื่อผู้ลงทุนอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปี และลงทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี

สิทธิประโยชน์ทางภาษีของ RMF
หากปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน ผู้ลงทุนใน RMF จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีถึง 2 ทางด้วยกัน คือ
     ทางที่ 1 เงินซื้อหน่วยลงทุนใน RMF จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 15 % ของเงินได้ในแต่ละปี โดยเมื่อนับรวมกับเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) แล้ว ต้องไม่เกิน 300,000 บาท
     ทางที่ 2 กำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุน (capital gain) ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ หากลงทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี  
  
ลักษณะการผิดเงื่อนไขการลงทุนของ RMF มีดังนี้
1. ระงับการซื้อหน่วยลงทุนเกินกว่า 1 ปีติดต่อกัน หรือ
2. ลงทุนขั้นต่ำไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ หรือ
3. ขายคืนหน่วยลงทุนก่อนที่ผู้ลงทุนจะอายุครบ 55 ปี หรือ
4. ขายคืนหน่วยลงทุนก่อนที่จะมีการลงทุนครบ 5 ปี
                 
               ทั้งนี้ หากเป็นไปตามข้อใดข้อหนึ่ง ก็ถือว่าผิดเงื่อนไขการลงทุนแล้ว ยกเว้นกรณีที่ผู้ลงทุนเสียชีวิตหรือทุพพลภาพ ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าว จะไม่ถือว่าผิดเงื่อนไขการลงทุน  

เมื่อการผิดเงื่อนไขการลงทุนแล้ว ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอีกต่อไปและต้องดำเนินการ ดังนี้
1. กรณีที่ลงทุนไม่ถึง 5 ปี และมีการผิดเงื่อนไข
    •ต้องคืนเงินภาษีที่ได้รับยกเว้นไปในช่วง 5 ปีย้อนหลัง (นับตามปีปฏิทิน) 
    •เมื่อขายคืนหน่วยลงทุน ต้องจ่ายภาษีของกำไรส่วนเกินทุน (capital gain) โดยนำกำไรที่ได้รับจากการขายคืนไปรวมเป็นเงินได้ของปีที่ขายคืนเพื่อเสีย ภาษีเงินได้  ซึ่งในทางปฏิบัติเมื่อผู้ลงทุนขายคืน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมจะหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ของกำไรส่วนเกินทุนไว้ก่อน และเมื่อผู้ลงทุนไปยื่นแบบเสียภาษีเงินได้ ก็จะคำนวณอีกครั้ง ว่าจะต้องจ่ายเงินภาษีเพิ่มอีก หรือไม่ อย่างไร
 
2. กรณีที่ลงทุนตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป และมีการผิดเงื่อนไข
     • ต้องคืนเงินภาษีที่ได้รับยกเว้นไปในช่วง 5 ปีย้อนหลัง (นับตามปีปฏิทิน)
 
          การชำระภาษีตาม 1. และ 2. ต้องชำระภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ผิดเงื่อนไข และ/หรือ ขายคืนหน่วยลงทุน 
 
  
Checklist ก่อนลงทุนใน RMF มีดังนี้     
                
 - ตอบตัวเองว่าต้องการออมเพื่อวัยเกษียณ  
 -มีวินัยในการออมอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง และระยะยาว  
 -รู้จักตัวเอง-รู้ว่ามีเป้าหมายการลงทุนเป็นแบบใด สามารถออมเงินได้มากน้อยเพียงไร และยอมรับความเสี่ยงในการลงทุนได้ขนาดไหน  
 -รู้จักผลิตภัณฑ์-รู้ว่านโยบายการลงทุนของ RMF ที่สนใจจะลงทุนเป็นอย่างไร เช่น มีความเสี่ยงต่ำ ปานกลาง หรือสูง  
 -พิจารณาผลงานของบริษัท คุณภาพในการให้บริการ รวมทั้งการคิดค่าธรรมเนียมจัดการและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ  
  -เลือกลงทุนใน RMF ที่เหมาะสมกับตัวคุณ ทั้งนี้ อย่าลืมใช้หลักการกระจายความเสี่ยงในการลงทุน ที่ว่า “อย่าใส่ไข่ไว้ในตะกร้าใบเดียว” ประกอบการลงทุนด้วย
 

 LTF คืออะไร กองทุนหุ้นระยะยาว ความหมาย LTFย่อมาจากคำว่า Long Term Equity Fund หรือเรียกในชื่อไทยว่า “กองทุนรวมหุ้นระยะยาว” เป็นกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในหุ้น โดยทางการสนับสนุนให้จัดตั้งขึ้นเพื่อเพิ่มสัดส่วนผู้ลงทุนสถาบัน (ซึ่งก็คือ กองทุนรวม) ที่จะลงทุนระยะยาวในตลาดหลักทรัพย์ฯ การเพิ่มผู้ลงทุนสถาบันดังกล่าวจะช่วยให้ตลาดทุนไทยมีเสถียรภาพมากขึ้น ทั้งนี้ ผู้ที่ลงทุนใน LTF ที่เป็นบุคคลธรรมดาจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อเป็นแรงจูงใจในการลง ทุน LTF เหมาะกับคนทุกกลุ่มที่ต้องการลงทุนในหุ้นระยะยาว แต่อาจไม่มีความชำนาญเกี่ยวกับการลงทุนในหุ้น หรือไม่มีเวลา จึงลงทุนผ่านกองทุนรวม ทั้งนี้ ผู้ลงทุนจะต้องเข้าใจและยอมรับความเสี่ยงจากการลงทุน และเงื่อนไขเกี่ยวกับระยะเวลาในการลงทุนได้ นั่นก็คือ ลงทุนแล้วถือหน่วยลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี นโยบายการลงทุน มีแบบเดียว คือ ลงทุนในหุ้นสามัญที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยแต่ละ LTF อาจมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน เช่น บาง LTF อาจเน้นลงทุนในหุ้นกลุ่ม SET 50 หรือหุ้นตามกลุ่มอุตสาหกรรม หรือลงทุนในหุ้นตามที่บริษัทจัดการเห็นควรก็ได้ ขึ้นอยู่กับรายละเอียดนโยบายการลงทุนของ LTF กองนั้น ๆ 

ข้อแตกต่างของ LTF จากกองทุนรวมทั่ว ๆ ไป ดังนี้ 

1. หากลงทุนครบตามเงื่อนไขจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี 
2. ไม่สามารถโอน จำนำ หรือนำหน่วยลงทุนไปเป็นหลักประกันได้
 3. เป็นกองทุนเปิด ซึ่งกำหนดให้ขายคืนหน่วยลงทุนได้ไม่เกินปีละ 2 ครั้ง

เงื่อนไขการลงทุนของ LTF เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี มีดังนี้

เมื่อผู้ลงทุนซื้อ LTF แล้ว ต้องถือหน่วยลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี (นับตามปีปฏิทิน เช่น เงินลงทุนแต่ละยอดที่ซื้อในระหว่างปี 2547 จะครบเงื่อนไขตั้งแต่เดือนมกราคม 2551 เป็นต้นไป และส่วนที่ลงทุนในระหว่างปี 2548 ก็จะครบเงื่อนไขตั้งแต่เดือนมกราคม 2552 เป็นต้นไป โดยในการขายคืนนั้น จะขายคืนเพียงบางส่วนหรือทั้งหมดก็ได้) ทั้งนี้ เงินลงทุนใน LTF ที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี จะต้องเป็นการลงทุนภายในช่วงระยะเวลาไม่เกินปี 2559 เท่านั้น สิทธิประโยชน์ทางภาษีของ LTF หากปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน ผู้ลงทุนใน LTF จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีถึง 2 ทางด้วยกัน คือ ทางที่ 1 เงินซื้อหน่วยลงทุนใน LTF จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 15 % ของเงินได้ในแต่ละปี ทั้งนี้ ต้องไม่เกิน 300,000 บาท ทางที่ 2 กำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุน (capital gain) ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ หากลงทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี 

ลักษณะการผิดเงื่อนไขการลงทุนของ LTF มีดังนี้

 การขายคืนหน่วยลงทุนก่อนครบกำหนด 5 ปีปฏิทิน ถือว่าผิดเงื่อนไขการลงทุน ทั้งนี้ กรณีผู้ลงทุนเสียชีวิตหรือทุพพลภาพ ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าว จะไม่ถือว่าผิดเงื่อนไขการลงทุน เมื่อการผิดเงื่อนไขการลงทุนแล้ว ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอีกต่อไป และต้องดำเนินการดังนี้ 1. ต้องคืนเงินภาษีที่ได้รับยกเว้นไป เฉพาะยอดเงินลงทุนที่ขายคืนพร้อมเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน โดยนับตั้งแต่เดือนเมษายน ของปีที่ผู้ลงทุนยื่นขอยกเว้นภาษี จนถึงเดือนที่มีการยื่นคืนเงินภาษี ดังนั้น ผู้ลงทุนจึงควรยื่นขอคืนเงินภาษีพร้อมเงินเพิ่มทันทีที่มีการทำผิดเงื่อนไข การลงทุน โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ถึงรอบชำระภาษีตามปกติ 2. ต้องจ่ายภาษีของกำไรส่วนเกินทุน (capital gain) โดยนำกำไรที่ได้รับจากการขายคืนไปรวมเป็นเงินได้ของปีที่ขายคืนเพื่อเสีย ภาษีเงินได้ ซึ่งในทางปฏิบัติเมื่อผู้ลงทุนขายคืน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมจะหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ของกำไรส่วนเกินทุนไว้
 ก่อน 

 กองทุน ETF (Exchange Tradad Fund) เป็นกองทุนเปิดที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ทำการซื้อขายสะดวกเหมือนหุ้น แต่กระจายความเสี่ยงเหมือน Index fund ที่เสียค่าบริหารจัดการต่ำกว่ากองทุนประเภทอื่นๆ ผลตอบแทนของกองทุนก็สามารถอ้างอิงกับดัชนีได้ทั้งในตลาดอนุพันธ์และตลาดตรา สารทุน
กองทุนลักษณะนี้จึงถือว่าเป็นกองทุนรูปแบบใหม่ที่จะทำให้เกิด ความหลากหลาย และเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้กับนักลงทุนรายย่อยที่ต้องการลงทุนในตลาดทุน
แต่กลัวเรื่องของความเสี่ยงโดยหันมาลงทุนในกองทุนประเภทนี้ และนักลงทุนสถาบันที่กระจายความเสี่ยงจากการลงทุนเพิ่มเติมได้

Exchangeหมายความว่า มีการนำหน่วยลงทุน ETF ไปจดทะเบียนในตลาดรองหรือ
ตลาดหลักทรัพย์ฯ
Tradedหมาย ความว่า สามารถทำการซื้อขาย ETF ผ่านบริษัทหลักทรัพย์หรือโบรกเกอร์ได้เสมือนกับเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนตัว หนึ่ง ดังนั้น สภาพคล่องของกองทุน ETF
จึงไม่ต่างจากหลักทรัพย์จดทะเบียนทั่วๆ ไปที่สามารถซื้อขายกันได้ตลอดทั้งวัน
นอกจากนี้ ผู้ลงทุนยังสามารถทราบราคาซื้อขายได้ในทันทีแบบ Real Time อีกด้วย
Fundหมายความว่า ETF เป็นกองทุนรวมประเภทหนึ่ง





     เนื่องจากกองทุน ETF เป็นกองทุนที่มีลักษณะเลียนแบบดัชนีทางการเงิน กองทุน ETF จึงสามารถลงทุนใน
หลักทรัพย์ได้ทุกประเภท หากหลักทรัพย์ประเภทนั้นๆ มีดัชนีที่อ้างอิงได้ ตัวอย่างเช่น...
  • กองทุน ETF ที่อ้างอิงดัชนีราคาหุ้น (Equity ETF) ได้แก่
    -
    กองทุน ETF ที่อ้างอิงดัชนีราคาหุ้นโดยรวม เช่น SET50 Index, S&P500 Index, NASDAQ Composite
      Index ฯลฯ
    - กองทุน ETF ที่อ้างอิงดัชนีราคาหุ้นรายกลุ่มอุตสาหกรรม เช่น SET Energy & Utilities Sector Index ฯลฯ
    - กองทุน ETF ที่อ้างอิงดัชนีราคาหุ้นโดยรวมของแต่ละประเทศ หรือดัชนีราคาหุ้นระหว่างประเทศ
    เช่น
      MSCI World Index ฯลฯ

  • กองทุน ETF ที่อ้างอิงดัชนีราคาตราสารหนี้ (Bond ETF) ได้แก่
    - กองทุน ETF ที่อ้างอิงดัชนีราคาพันธบัตรรัฐบาล (Treasury Bond Index)
    - กองทุน ETF ที่อ้างอิงดัชนีร าคาหุ้นกู้บริษัทเอกชน (Corporate Bond Index)
    ฯลฯ

  • กองทุน ETF ที่อ้างอิงหลักทรัพย์หรือดัชนีอื่นๆ ได้แก่
    - กองทุน ETF ที่อ้างอิงดัชนีราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity ETF)
    - กองทุน ETF ที่อ้างอิงดัชนีราคาทองคำ (Gold ETF)
    ฯลฯ แม้ว่ากองทุน ETF จะมีหลากหลายตามประเภทของดัชนีหลักทรัพย์ที่ใช้อ้างอิง เช่น ดัชนีราคาหุ้น ดัชนีราคา
  ตราสารหนี้ หรือดัชนีราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ฯลฯ แต่กองทุน ETF ที่เป็นที่นิยมมากที่สุดก็คือ "กองทุน ETF ที่อ้างอิงดัชนีราคาหุ้น" (Equity ETF) เพราะ ว่าหุ้นเป็นหลักทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง และเป็นที่นิยมของผู้ลงทุนในทุกประเทศ รวมถึงดัชนีที่ใช้อ้างอิงก็มีความหลากหลาย สามารถคำนวณราคาได้ง่าย
จากข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2554 ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีกองทุน ETF จดทะเบียนรวม 8 กองทุน คือ...
ที่มา : www.set.or.th
     อย่าง ไรก็ตาม เนื่องจาก 4 ใน 8 ของกองทุน ETF ที่ซื้อขายในประเทศไทยเป็นกองทุน ETF ที่อ้างอิงดัชนีราคาหุ้น (Equity ETF) ดังนั้น เนื้อหาและตัวอย่างต่างๆ จึงขอเน้นไปที่ Equity ETF เป็นหลัก โดยเฉพาะ "กองทุนเปิด ThaiDEX SET50 ETF" หรือที่เรียกย่อๆ ว่า "TDEX" ซึ่ง เป็น Equity ETF ที่มีขนาดกองทุนใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อีกทั้งยังเป็นที่นิยมของผู้ลงทุนมากที่สุดในบรรดา Equity ETF ทั้ง 4 กองทุน

มารู้จักตลาดการเงินกันเถอะ

มารู้จักตลาดการเงินกันเถอะ

The Stock Exchange of Thailand หรือ SET ก็คือตัวย่อของ "ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย" คะ ซึ่งเป็นศูนย์กลางสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียน เป็นผู้ให้บริการระบบการซื้อขาย หลักทรัพย์ ธุรกิจเกี่ยวกับการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ ( clearing house )รับฝากหลักทรัพย์ (securities depository) นายทะเบียน (registrar) และกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวเนื่องรวมทั้งธุรกิจอื่นๆที่คณะกรรมการกำกับหลัก ทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) อนุมัติ

 

 

 ตลาดแรก

คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ทำหน้าที่กำกับและดูแลตลาดแรก โดยบริษัทใดที่ต้องการออกหลักทรัพย์ใหม่เสนอขายหุ้นต่อประชาชนครั้งแรก (Initial Public Offering) หรือเสนอขายหลักทรัพย์อื่นๆ แก่ประชาชน ต้องขออนุมัติจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) และดำเนินการตามเกณฑ์ที่กำหนด จากนั้นคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์จะต้องตรวจสอบสถานะทาง การเงินและการดำเนินงานของบริษัทนั้นก่อนที่จะอนุมัติให้บริษัททำการออกหลัก ทรัพย์ขายแก่ประชาชนได้
ตลาดรอง
หลังจากการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนครั้งแรก หลักทรัพย์จะสามารถทำการซื้อขายในตลาดรองได้ก็ต่อเมื่อผู้ออกหลักทรัพย์นั้น ได้ยื่นคำขอและได้รับอนุมัติจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแล้ว

  บทบาทตลาดหลักทรัพย์
ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตลาดหลักทรัพย์มีบทบาทสำคัญ ดังนี้
  1. ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียน และพัฒนาระบบต่างๆ ที่จำเป็นเพื่ออำนวยความสะดวกในการซื้อขายหลักทรัพย์
  2. ดำเนินธุรกิจใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหลักทรัพย์ เช่น การทำหน้าที่เป็นสำนักหักบัญชี (Clearing House) ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ นายทะเบียนหลักทรัพย์ หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  3. การดำเนินธุรกิจอื่น ๆ ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

ลักษณะการดำเนินงาน
  • เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517
  • ทำหน้าที่ส่งเสริมการออมและการ ระดมเงินทุนระยะยาวเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และเป็นศูนย์กลางในการซื้อขายหลักทรัพย์และให้บริการที่เกี่ยวข้อง โดยไม่นำผลกำไรมาแบ่งปันกัน
  • สนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของกิจการธุรกิจและอุตสาหกรรมภายในประเทศ
  • เริ่มเปิดทำการซื้อขายหลักทรัพย์เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2518
  • ปัจจุบันดำเนินงานภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
  • การดำเนินงานหลัก ได้แก่ การรับหลักทรัพย์จดทะเบียนและดูแลการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทจดทะเบียน การซื้อขายหลักทรัพย์และการกำกับดูแลการซื้อขายหลักทรัพย์ การกำกับดูแลบริษัทสมาชิกส่วนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหลักทรัพย์ ตลอดจนถึงการเผยแพร่ข้อมูลและการส่งเสริมความรู้ให้แก่ผู้ลงทุน


สมาชิกภาพองค์กรระหว่างประเทศ
  • สหพันธ์ตลาดหลักทรัพย์ภาคพื้นเอเชียและโอเชียเนีย (Asian and Oceanian Stock Exchanges Federation - AOSEF) ตลาดหลักทรัพย์ฯ เข้าเป็นสมาชิกในปีพ.ศ. 2525

  • องค์กรคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์นานาชาติ (International Organization of Securities Commissions -IOSCO) ตลาดหลักทรัพย์ฯ เข้าเป็นสมาชิกประเภท full member ในปีพ.ศ. 2533 และเปลี่ยนเป็น affiliate member ในปีพ.ศ. 2535 เนื่องจากมีการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการก.ล.ต.

  • สหพันธ์ตลาดหลักทรัพย์นานาชาติ (The World Federation of Exchanges - WFE)
    ตลาดหลักทรัพย์ฯ เข้าเป็นสมาชิกในปี 2533

 

ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (Market for Alternative Investment - MAI) เป็นตลาดหลักทรัพย์แห่งที่สองของประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2542 และเปิดทำการซื้อขายวันแรกเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2544 มีจุดประสงค์การทำงานโดยทั่วไป เหมือนกับ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) คือ ทำหน้าที่เป็นตลาดทุน เพื่อให้กิจการต่างๆ สามารถระดมเงินทุนเพิ่มเติมจากสาธารณะได้ แต่ตลาดใหม่นี้ จะเน้นไปที่กิจการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี - SME) และกิจการเกี่ยวกับนวัตกรรม โดยได้ผ่อนผันหลักเกณฑ์ต่างๆ ลง เช่น ทุนชำระแล้วขั้นต่ำของหลักทรัพย์ในตลาดหลัก คือ 200 ล้านบาท ในขณะที่ขั้นต่ำของตลาดใหม่ ลดลงเป็น 40 ล้านบาท เป็นต้น เพื่อเปิดโอกาสให้กิจการขนาดเล็ก ที่ไม่สามารถเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ ได้มีหนทางในการระดมทุน รวมทั้งสนับสนุนอุตสาหกรรมการร่วมลงทุน (venture capital) เพื่อเพิ่มจำนวนบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์คนปัจจุบันคือ ชนิตร ชาญชัยณรงค์ (ตั้งแต่ กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549)

 ตลาดตราสารหนี้ (Bond Electronic Exchange: BEX)
จัด ตั้งขึ้นโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเปิดให้บริการการซื้อขายแก่นักลงทุนทั่วไป ตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 โดยให้บริการผ่านระบบการซื้อขายแบบเรียลไทม์ มีข้อมูลที่โปร่งใส ตลอดจนถึงกระบวนการส่งมอบและชำระราคาที่เชื่อถือได้ เพื่อที่จะพัฒนาตลาดตราสารหนี้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งในด้านปริมาณการซื้อขาย คุณภาพของตราสารหนี้ ตัวกลางการซื้อขาย และแหล่งข้อมูลอ้างอิง โดยมีเป้าหมายในการดำเนินการตลาดรองตราสารหนี้ที่สมบูรณ์แบบของประเทศไทย ให้บริการครอบคลุมผู้ลงทุนและผู้ค้าตราสารหนี้ทั้งหมด


บริษัท ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ
Thailand Futures Exchange PCL: TFEX

เป็นบริษัทย่อยของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2547 เพื่อเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 โดยมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาตลาดการซื้อขายอนุพันธ์แห่งนี้ให้มีสภาพคล่อง มีความหลากหลายของสินค้า ประเภทของสมาชิกและจำนวนผู้ซื้อขาย และมีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้ประกอบการและผู้ลงทุนสามารถใช้บริการได้อย่างมีความเชื่อมั่นและ มีความน่าเชื่อถือ โดยการพัฒนาตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในประเทศไทยจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ ลงทุนในตลาดทุนไทย และมีส่วนช่วยพัฒนาระบบเศรษฐกิจโดยรวม ตลอดจนเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศในระดับสากล

 ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (AFET) เป็นศูนย์กลางในการซื้อขาย Futures ที่อ้างอิงมูลค่าจากราคาสินค้าเกษตรประเภทต่างๆ ได้แก่ ยางพารา ข้าว และมันสำปะหลัง ซึ่งนอกจากนักลงทุนจะเข้ามาแสวงหาผลกำไรจากการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าแล้ว การลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าด้านสินค้าเกษตรในตลาด AFET ยังเป็นเพียงช่องทางเดียวที่นักลงทุนในประเทศจะสามารถลงทุนในสินทรัพย์ Commodities ได้ โดยไม่ต้องทำธุรกิจค้าขายในสินค้านั้นๆ ในขณะเดียวกันผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจค้าขายสินค้าเกษตรก็สามารถเข้ามาใช้ Futures เป็นเครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาสินค้านั้นๆ ได้อีกด้วย
 





































วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ระบบสารสนเทศขององค์กร TPS KWS DSS ESS OAS MIS

  ระบบสารสนเทศขององค์กร TPS KWS DSS  ESS OAS MIS

ระบบสารสนเทศเเบบประมวลรายการ(TPS)
เป็น ระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับการบันทึกเเละประมวลข้อมูลที่เกิดจากธุรกรรมหรือ การปฏิบัติงานประจำหรืองานขั้นพื้นฐานขององค์การ เช่น การซื้อขายสินค้าการบันทึกจำนวนวัสดุคงคลัง เมื่อใดก็ตามที่มีการทำธุรกรรมหรือปฎิบัติงานในลักษณะดังกล่าวข้อมูลที่ เกี่ยวข้องจะเกิดขึ้นทันที เช่น ทุกครั้งที่มีการขายสินค้า ข้อมูลที่เกิดขึ้นก็คือ ชื่อลูกค้า ประเภทของลูกค้า จำนวนเเละราคาของสินค้าที่ขายไป รวมทั้งวิธีการชำระเงินของลูกค้า
หน้าที่ของ TPS
  1. การจัดกลุ่มของข้อมูล คือ การจัดกลุ่มข้อมูลลักษณะเหมือนกันไว้ด้วยกัน
  2. การ คิดคำนวณ การคิดคำนวณโดยใช้วิธีการคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ เช่น การคำนวณภาษีขายทั้งหมดที่ต้องจ่ายในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
  3. การ เรียงลำดับข้อมูล การจัดเรียงข้อมูลเพื่อทำให้การประมวลผลง่ายขึ้น เช่น การจัดเรียง invoices ตามรหัสไปรษณีย์เพื่อให้การจัดส่งเร็วยิ่งขึ้น
  4. การสรุปข้อมูล เป็นการลดขนาดของข้อมูลให้เล็กหรือกะทัดรัดขึ้น เช่น การคำนวณเกรดเฉลี่ยของนักศึกษาเเต่ละคน
  5. การ เก็บ การบันทึกเหตุการณ์ที่มีผลต่อการปฎิบัติงาน อาจจำเป็นต้องเก็บรักษาข้อมูลไว้ โดยเฉพาะข้อมูลบางประเภทที่จำเป็นต้องเก็บรักษาไว้ตามกฎหมาย ที่จริงเเล้ว TPS เกี่ยวข้องกับงานทุกระดับในองค์การ เเต่งานส่วนใหญ่ของ TPS จะเกิดขึ้นในระดับปฎิบัติการมากกว่า เเม้ว่า TPS จะจำเป็นในการปฎิบัติงานในองค์การเเต่ระบบ TPS ก็ไม่เพียงพอในการสนับสนุนในการตัดสินใจของผู้บริหาร ดังนั้นองค์การจึงจำเป็นต้องมีระบบอื่นสำหรับช่วยผู้บริหารด้วย ดังจะกล่าวต่อไป
      
    Operational-Level System

    Transaction Processing System(TPS) ตัวอย่าง ระบบบัญชี ระบบสั่งสินค้า ระบบเงินเดือน ระบบบุคลากร

ระบบงานสร้างความรู้ (KWS)
เป็น ระบบที่ช่วยสนับสนุนบุคลากรที่ทำงานด้านการสร้างความรู้เพื่อพัฒนาการคิดค้น สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆบริการใหม่ ความรู้ใหม่ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในหน่วยงาน หน่วยงานต้องนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนในการพัฒนาเกิดขึ้นได้โดย สะดวก สามารถเเข่งขันได้ทั้งในด้านเวลา คุณภาพ เเละราคา ระบบต้องอาศัยเเบบจำลองที่สร้างขึ้น ตลอดจนการทดลองการผลิตหรือดำเนินการก่อนที่จะนำเข้ามาดำเนินการจริงในธุรกิจ ผลลัพธ์ ของระบบนี้มักอยู่ในรูปของสิ่งประดิษฐ์ ตัวเเบบ รูปแบบ เป็นต้น
กระบวนการในการสร้าง KWS ประกอบด้วย 4 ระยะ คือ
  1. Infrastructural Evaluation ขั้นการวางโครงสร้างพื้นฐานของการจัดการความรู้
  2. KM System Analysis,Design and Development ขั้นการประเมินระบบ การจัดการความรู้ การออกเเบบเเละการพัฒนา
  3. System Development ขั้นตอนการพัฒนาระบบที่ได้มีการประเมินเเล้ว
  4. Evaluation ขั้นตอนการประเมินระบบการจัดการความรู้ที่ได้สร้าง
Knowledge Work System ประกอบด้วยด้วยส่วนสำคัญดังต่อไปนี้
  1. ฐานข้อมูลการจัดการลูกค้า เเละการตลาด
  2. สารบัญฐานข้อมูลความรู้พื้นฐานเเละวิธีการจัดการลูกค้าขององค์กร
  3. การเชื่อมต่อองค์ประกอบด้านบัญชี
  4. การจัดการคลังสินค้า เเละการหมุนเวียนอุปการณ์
  5. การเชื่อมต่อฐานข้อมูลสิทธิลูกค้า
  6. ระบบการจัดการผู้ใช้งานของ KWS
     
     Management-Level Systems 
    Knowledge Work Systems (KWS) ตัวอย่าง Computer-Aided Design, Graphics Workstations
ระบบสารสนเทศเเบบ (DSS)
เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยในการตัดสินใจ ซึ่งจะมีลักษณะมีโครงสร้างที่ไม่ชัดเจน โดยนำข้อมูลมาจากหลายเเหล่งช่วยในการนำเสนอเเละมีลักษณะยืดหยุ่นตามความต้อง การ ลักษณะของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ระบบ DSS จะมีการเเบ่งเเยกการตัดสินใจในลักษณะที่เป็นโครงสร้าง ลักษณะไม่เป็นโครงสร้าง เเละลักษณะกึ่งโครงสร้าง โดยส่วนใหญ่ปัญหาที่เป็นโครงสร้างเกิดจากการทำงานประจำ ส่วนปัญหาที่ไม่เป็นโครงสร้างเกิดจากความไม่เเน่นอน เนื่องจากงานไม่เป็นประจำปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างกึ่งโครงสร้าง มักจะเกิดจากปัญหาที่มีโครงสร้างเเต่ผิดจากงานประจำบ้าง โดยทั่วไประบบ DSS มักจะถูกนำมาใช้ในการออกเเบบเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ วิเคราะห์ในลักษณะกึ่งโครงสร้างเเละไม่เป็นโครงสร้าง ซึ่งเเตกต่างจากระบบ TPS เเละ MIS ซึ่งมีการจัดการกับปัญหาที่เป็นโครงสร้าง เเละในขณะเดียวกันองค์การมักจะใช้การวิจัยเชิงปฎิบัติ ในการจัดเตรียมตัวเเบบเพื่อใช้ในการสร้างทางเลือก เเต่ในปัจจุบันระบบ DSS ได้ถูกออกเเบบเพื่อรวมความสามารถของ TPS MIS เเละการสร้างตัวเเบบของ OR เข้าด้วยกันเพื่อช่วยในการวิเคราะห์ปัญหาในรูปเเบบต่างๆเเละสร้างเครื่องมือ ในการวิเคราะห์กับผู้ใช้
การออกเเบบ DSS ที่ดีจะต้องสามารถตอบสนองต่อการนำไปใช้ของผู้บริหารระดับสูง สามารถช่วยในเรื่องการพยากรณ์ การวางเเผนเชิงกลยุทธ์ เเละผู้บริหารระดับกลางที่จะนำไปปฎิบัติได้ ในอดีตการตัดสินใจที่ผิดพลาดมักจะเกิดจาดตัวบุคคล จึงมีการนำระบบ DSS มาช่วยในการตัดสินใจเป็นกลุ่ม ระบบ DSSที่ดีสามารถช่วยในการหาข้อมูล เลือกข้อมูลเเละใช้ตัวเเบบที่เหมาาะสมในการวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงการควบคุมการทำงานด้วยตนเองปราศจากการเเทรกเเซงของผู้ชำนาญ ผู้ชำนาญจำทำหน้าที่ในการให้คำปรึกษา ฝึกอบรม เเนะนำ เเละสนับสนุน ส่วนการปฎิบัติเป็นหน้าที่ของผู้ใช้
หน้าที่หลักของ DSS
  1. ระบบ สารสนเทศที่ใช้สำหรับการสนับสนุนผู้ตัดสินใจทางการบริหารทั้งที่เป็นตัว บุคคลหรือกลุ่ม โดยการตัดสินใจนั้นจะเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่มีลักษณะเป็นเเบบไม่มีโครง สร้างโดยจะมีการนำวิจารณญาณของมนุษย์กับข้อมูล จากคอมพิวเตอร์มาใช้ประกอบในการตัดสินใจ
  2. ระบบ DSS ช่วยในการตอบสนองความต้องการที่ไม่ได้คาดการณ์มาก่อนโดยผู้ใช้สามารถปรับ ข้อมูลใน DSS ได้ตลอดเวลาเพื่อจัดการกับเงื่อนไขต่างๆที่เปลี่ยนเเปลงไป โดยใช้การวิเคราะห์ที่เรียกว่า Sensitivity Analysis
  3. ช่วยในการตัดสินใจที่ต้องการความรวดเร็วสูง เพื่อใช้ประกอบในการกำหนดกลยุทธ์ในการเเข่งขัน
  4. เสนอทางวิเคราะห์ในทางเลือกต่างๆ ในสถานการณ์ที่มีความซับซ้อน
  5. จัดการเก็บข้อมูลซึ่งมาจากหลายเเหล่งได้ ทั้งภายในเเละภายนอกหน่วยงาน
  6. นำเสนอได้ทั้งรายงานที่เป็นตัวข้อความเเละกราฟฟิค
     

    Management-Level Systems

     Decision Support Systems (DSS) ตัวอย่าง การวิเคราะห์ยอดขาย การวางแผนการผลิต การวิเคราะห์ต้นทุน
ระบบสนับสนุนการทำงานของผู้บริหาร(ESS)
เป็นระบบที่ใช้สนับสนุนการทำงานของผู้บริหาร เช่น ให้ผู้บริหารสามารถใช้งาน Internet หรือสามารถใช้ Vedio Conference ได้ ซึ่งระบบ ESS จะต้องมีความสามารถในการสนับสนุน ในเรื่องการสื่อสาร การจัดการระบบสำนักงานอัตโนมัติ สนับสนุนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติ เเละตัวเลขหรือเป็นระบบอัจฉริยะ
หน้าที่สำหรับการกำหนดความต้องการของระบบสนับสนุนผู้บริหาร ESS
  1. จำเเนกประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นให้เป็นชุดหรือเป็นเรื่องเดียวกัน เพื่อง่ายต่อการวิเคราะห์เเละตัดสินใจ
  2. ล้วง เอาความจริง จากการประเมินผลกระทบของเหตูการณ์ที่เกิดขึ้นว่ามีผลกระทบต่อเป้าหมายของ บริษัทหรือไม่ ถ้าหากมีผลกระทบ ต้องพยายามเปลี่ยนเเผนเพื่อให้องค์การบรรลุเป้าหมายที่วางไว้
  3. ล้วงเอาความจริงจากตัวดัชนี สามในห้าประการซึ่งถูกนำมาใช้เป็นเเนวทางการเเก้ปัญหาเเต่ละประเด็น
  4. ค้นหาความจริงเกี่ยวกับศักยภาพของเเหล่งสารสนเทศ ที่จะใช้เป็นตัวกำหนดในการบริหารองค์การ
  5. ทดสอบทางเลือกต่างๆที่เป็นตัวกำหนดเเนวทางว่าทางเลือกไหนดีที่สุดความเสี่ยงน้อยที่สุด
     Executive Support System : ESS  
       เป็นระบบที่ใช้สนับสนุนการทำงานของผู้บริหาร   เช่น   ให้ผู้บริหารสามารถใช้งาน Internet   หรือสามารถใช้  Vedio  Conference  ได้   ซึ่งระบบ  ESS  จะต้องมีความสามารถในการสนับสนุน (Support)  ในเรื่องการสื่อสาร (Communications)   การจัดการระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office automation)  สนับสนุนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติ (Analysis support)  และตัวเลข  หรือเป็นระบบอัจฉริยะ (Intelligence)
     ระบบสำนักงานอัตโนมัติ ( Office Automation System : OAS)
    ระบบสำนักงานอัตโนมัติ 
             เป็นระบบที่ออกแบบขึ้นเพื่อช่วยให้การทำงานในสำนักงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่วนใหญ่เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายกับอุปกรณ์ต่างๆ ของสำนักงาน เพื่อประโยชน์ในการใช้งาน ระบบสำนักงานอัตโนมัติประกอบด้วย
    ·        ระบบจัดการเอกสาร
    ·        ระบบจัดการด้านข่าวสาร
    ·        ระบบประชุมทางไกล
    ·        ระบบสนับสนุนสำนักงาน
             ระบบสำนักงานอัตโนมัติ Office Automation Systems(OAS)           ระบบสำนักงานอัตโนมัติ OAS คือ ระบบสารสนเทศที่สามารถสร้าง (Create) เก็บข้อมูล (Store) ปรับปรุงข้อมูล (Modify) แสดงภาพ (Display) และติดต่อสื่อสารระหว่างระบบธุรกิจ โดยการใช้คอมพิวเตอร์และระบบเทคโนโลยีการสื่อสาร เข้ามาช่วย แทนการพูด เขียน หรือส่งรูปภาพแบบเดิมผู้บริหารคอมพิวเตอร์
              ผู้บริหารคอมพิวเตอร์ อาจเป็นหัวหน้าของศูนย์คอมพิวเตอร์ หรือ ศูนย์เครือข่าย ก็ได้ อาจเรียกว่า PC Manager LAN Manager  มีหน้าที่หลักในการดูแลระบบและเครื่องคอมพิวเตอร์
    1. ควบคุมปริมาณเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
    2. ควบคุมค่าใช้จ่าย
    3. ความเป็นเอกภาพและความปลอดภัยของข้อมูล
    4. การระมัดระวังการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ ที่นอกเหนือการทำงาน
    ศูนย์สารสนเทศ (Information Center)
              เป็นหน่วยงานที่พนักงานจะได้รับความช่วยเหลือ ในการแก้ไขปัญหาทางซอฟต์แวร์ ในองค์กรใหญ่ๆ ศูนย์ข้อมูลอาจเรียกว่า Support Center  ซึ่งให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ใช้ในรูปแบบต่าง ๆ
                การให้บริการของศูนย์สารสนเทศมี  ดังนี้1. การเลือกใช้ซอฟต์แวร์
    2. การเข้าถึงข้อมูล
    3. การเข้าถึงเครือข่าย
    4. การฝึกอบรม
    5. การให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิค
    ระบบสำนักงานอัตโนมัติ ( Office Automation System : OAS )
                    เป็นระบบสำหรับเชื่อมโยงการทำงานของเจ้าหน้าที่และผู้บริหาร  เพื่อใช้ในการสื่อสารข้อมูล  การค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูล   การจัดตารางนัดหมาย  การประชุมทางไกล
    * สนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับข้อมูลโดยตรง เช่น พนักงานป้อนข้อมูล (Data Entry Worker)
    * เป็นกลุ่มพนักงานที่มีความรู้ในระดับต่ำกว่าผู้ชำนาญการ (Knowledge Workers)
    * OAS เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วยการสนับสนุนการใช้ข้อมูลร่วมกัน และอำนวยความสะดวกในการสื่อสารระหว่างกัน
     Knowledge-Level System

    Office Automation Systems (OAS) ตัวอย่าง Word Processing, Image Storage

      Management Information System : MIS

    ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information System) หรือ MIS คือระบบที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะรวมทั้ง สารสนเทศภายในและภายนอก สารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์กรทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งสิ่งที่คาดว่าจะเป็นในอนาคต นอกจากนี้ระบบเอ็มไอเอสจะต้อง ให้สารสนเทศ ในช่วงเวลาที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการวางแผนการควบคุม และการปฏิบัติการขององค์กรได้อย่างถูกต้อง
                แม้ว่าผู้บริหาร ที่จะได้รับประโยชน์จาก ระบบเอ็มไอเอสสูงสุดคือผู้บริหารระดับกลาง แต่โดยพื้นฐานของระบบเอ็มไอเอสแล้ว จะเป็นระบบที่ สามารถสนับสนุนข้อมูลให้ ผู้บริหารทั้งสามระดับ คือทั้งผู้บริหารระดับต้น ผู้บริหารระดับกลาง และผู้บริหารระดับสูง โดยระบบเอ็มไอเอสจะให้รายงาน ที่สรุปสารสนเทศซึ่งรวบรวมจากฐานข้อมูลทั้งหมดของบริษัท จุดประสงค์ ของรายงานจะเน้นให้ผู้บริหารสามารถมองเห็นแนวโน้ม และภาพรวม ขององค์กรในปัจจุบัน รวมทั้งามารถควบคุมและตรวจสอบงานของระดับปฏิบัติการด้วย อย่างไรก็ดี ขอบเขตของรายงาน จะขึ้นอยู่กับ ลักษณะของสารสนเทศ และจุดประสงค์การใช้งาน โดยอาจมีรายงานที่ออกทุกคาบระยะเวลา (เช่น งบกำไรขาดทุนหรืองบดุล) รายงานตามความต้องการ หรือรายงานตามสภาวะการณ์หรือเหตุผิดปกติ
                ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ Management Information System : MIS
                เป็น ระบบการจัดหาคนหรือข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กับข้อมูลเพื่อการดำเนินงานของ องค์การการจัดโครงสร้างของสารสนเทศโดยแบ่งตามลำดับ
    การนำไปใช้งานสามารถแบ่งได้ 4 ระดับดังนี้
    1. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในการวางแผนนโยบาย กลยุทธ์ และการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง
    2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในส่วนยุทธวิธีในการวางแผนการปฏิบัตและการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง
    3. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในระดับปฎิบัติการและการควบคุมในขั้นตอนนี้ผู้ บริหารระดับล่างจะเป็นผู้ใช้สารสนเทศเพื่อช่วยในการปฎิบัติงาน
    4. ระบบสารสนเทศที่ได้จากการประมวลผล 

     Management-Level Systems

    Management Information Systems (MIS) ตัวอย่าง การบริหารการขาย การควบคุมสินค้าคงคลัง การวางแผนงบประมาณ


วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บทบาทของระบบสารสนเทศที่มีต่อการจัดการด้านการเงิน



 บทบาทของระบบสารสนเทศที่มีต่อการจัดการด้านการเงิน

การนำเทคโนโลยีสารนิเทศมาใช้กับสังคมสารนิเทศใน ปัจจุบันก่อให้เกิดการสื่อสารและการใช้ประโยชน์ จากสารนิเทศได้อย่างเต็มที่  และมีประสิทธิภาพ  ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารนิเทศมีดังต่อไปนี้ คือ

            1. ช่วยให้ติดต่อสื่อสารระหว่างกันอย่างสะดวกรวดเร็ว โดยใช้โทรศัพท์  คอมพิวเตอร์หรือในรูปของ สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ

            2. ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาล ซึ่งผลิตออกมาในแต่ละวัน

            3. ช่วยให้เก็บสารนิเทศไว้ในรูปที่สามารถเรียกใช้ได้ครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างสะดวก

            4. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารนิเทศ เช่น ช่วยนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร  ด้วยการช่วยคำนวณตัวเลขที่ยุ่งยาก ซับซ้อนซึ่งไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ด้วยมือ

UploadImage
            5. ช่วยให้สามารถจัดระบบอัตโนมัติเพื่อการเก็บ เรียกใช้และประมวลผลสารนิเทศ

            6. สามารถจำลองแบบระบบการวางแผนและทำนาย เพื่อทดลองกับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น

            7. อำนวยความสะดวกในการเข้าถึงสารนิเทศดีกว่าสมัยก่อน ทำให้ผู้ใช้สารนิเทศมี ทางเลือกที่ดีกว่า มีประสิทธิภาพกว่า และสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้ดีกว่า

            8. ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลาและระยะทางระหว่างประเทศ

ระบบสารสนเทศทางการเงิน (finance) การจัดทำรายงานทางการเงิน การลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ 

1. หน้าที่หลักทางการเงิน
          1.1 การคาดการณ์ทางการเงิน แสดงจำนวนเงินที่จะเข้าสู่กิจการ แหล่งที่มาการใช้จ่าย ตัวอย่างการใช้แบบจำลองกระแสเงินสด
          1.2 การจัดการเงินทุน แหล่งเงินทุน การกู้ ออกพันธบัตรเงินกู้ ออกหุ้น รวมกิจการ สามารถใช้แบบจำลองทางเลือกต่าง ๆ สำหรับบริหารเงิน
          1.3 การตรวจสอบ (auditing)
                  - เป็นไปตามแผนที่กำหนดหรือแนวทางที่กำหนด
                  - การตรวจสอบภายใน (internal audit) การเงิน การปฏิบัติการ
                  - การตรวจสอบภายนอก (external audit) โดยผู้ตรวจสอบบัญชีอิสระ
          ผลการตรวจสอบทางการเงิน จะได้ งบรายได้ งบกำไรขาดทุน งบดุล

2. แหล่งสารสนเทศทางการเงิน
          2.1 ข้อมูลประมวลผลธุรกรรม
          2.2 ข้อมูลการคาดการณ์ภายใน จากฝ่ายต่าง ๆ เช่น ยอดขาย รายได้
          2.3 ข้อมูลเงินทุน (funding data) แหล่งเงินทุน เงื่อนไข การปันผล การจ่ายดอกเบี้ย                       
          2.4 ข้อมูลกลุ่มหลักทรัพย์ (portfolio data) หลักทรัพย์ที่กิจการถือ ราคาตลาดหลักทรัพย์
          2.5 ข้อกำหนดกฎเกณฑ์ของรัฐบาล เช่น การลดค่าเงินบาท อัตราดอกเบี้ย
          2.6 ข้อมูลสภาวะภายนอก เช่น ราคาหุ้น อัตราดอกเบี้ย ทิศทางของกิจการ
          2.7 แผนกลยุทธ์ การกำหนดแผนการเงินจะต้องสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของกิจการ

3. ตัวอย่างระบบสารสนเทศทางการเงิน
          3.1 การจัดการเงินสดและหลักทรัพย์ (cash/credit/investment management)
                  - ข้อมูลเงินสดรับและออก  
                  - ใช้สำหรับการลงทุนกับเงินทุนส่วนเกิน
                  - มีแบบจำลองทางคณิตศาสตร์การเก็บเงินสด software
          3.2 งบประมาณการลงทุน (capital budgeting)  
                  - การวิเคราะห์ การลงทุนโรงงาน เครื่องจักร อุปกรณ์ ความเสี่ยง   
          3.3 การวางแผนการเงิน (financial planning)
                  - ประเมินสมรรถนะทางการเงินของธุรกิจ ในปัจจุบันและที่คาดการณ์   
                  - วิเคราะห์ทางเลือกทางการเงินของกิจการ
     อีกทั้งยังทำหน้าที่ในการจัดการสารสนเทศด้านการเงินให้แก่ผู้บริหารและกลุ่มบุคคลซึ่งต้องการทำการตัดสินใจได้ดีขึ้นและช่วยในการหาโอกาสและปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว โดยระบบสารสนเทศด้านการเงินนิยมใช้รวมเข้ากับซอฟต์แวร์ในการวางแผนทรัพยากรขององค์กร (Enterprise Resource Planning--ERP) ซึ่งเป็นกลุ่มของโปรแกรมที่จัดการ วิเคราะห์และติดตามการดำเนินธุรกิจของแหล่งผลิตหรือสาขาต่าง ๆ ขององค์กร เพื่อให้แน่ใจว่าสารสนเทศด้านการเงินในการปฏิบัติงาน สามารถนำไปใช้สนับสนุนความสามารถในการตัดสินใจให้แก่บุคคลที่ต้องการได้ทันเวลา ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการเงินมีความสามารถการทำงานดังต่อไปนี้   
          1. รวบรวมสารสนเทศด้านการเงินและการดำเนินงานจากแหล่งต่าง ๆ รวมทั้งจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเข้าไว้ในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการเพียงระบบเดียว
          2. สนับสนุนผู้ใช้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับด้านการเงินและผู้ใช้อื่น ๆ ของบริษัท ให้สามารถเรียกใช้ข้อมูลและสารสนเทศทางด้านการเงินผ่านทางเครือข่ายในองค์กรได้ง่าย 
          3. เตรียมข้อมูลด้านการเงินที่มีอยู่ให้พร้อมต่อการใช้งาน เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
          4. สามารถวิเคราะห์ข้อมูลด้านการเงินได้หลายมิติ เช่น วิเคราะห์ตามช่วงเวลา, ภูมิประเทศ, ผลิตภัณฑ์, โรงงานผลิต หรือลูกค้าได้
          5. วิเคราะห์การดำเนินงานด้านการเงินที่ผ่านมาและที่เป็นอยู่ในปัจจุบันได้
          6. ติดตามและควบคุมการใช้เงินทุนได้ตลอดเวลา
   
ส่วนที่นำเข้าไปในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการเงิน ได้แก่   
          1. แผนเชิงกลยุทธ์และนโยบายของบริษัท ในแผนกลยุทธ์จะประกอบด้วย วัตถุประสงค์ด้านการเงินของบริษัท เช่น เป้าหมายของผลกำไรที่ต้องการ, อัตราส่วนของหนี้สินและเงินกู้, ค่าคาดหวังของผลตอบแทนที่ต้องการ เป็นต้น
          2. ระบบประมวลผลรายการ สารสนเทศด้านการเงินที่สำคัญจะมาจากโปรแกรมการประมวลผลรายการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น โปรแกรมเงินเดือน, โปรแกรมควบคุมสินค้าคงคลัง, โปรแกรมสั่งซื้อสินค้า, โปรแกรมบัญชีรายรับ-รายจ่าย, และโปรแกรมใบสั่งซื้อ ทั่วไป โดยข้อมูลที่ได้จากโปรแกรมเหล่านี้ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายด้านเงินเดือนรวม, เงินลงทุนในคลังสินค้า, ยอดขายรวม, ปริมาณเงินที่จ่ายให้กับแหล่งผลิตสินค้า, ปริมาณหนี้รวมของลูกค้าที่มีต่อบริษัทและรายละเอียดข้อมูลบัญชีต่าง ๆ โดยข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำไปสร้างเป็น   รายงานด้านการเงิน เพื่อใช้ในการตัดสินใจต่อไป
          3. แหล่งข้อมูลภายนอก ได้แก่ สารสนเทศเกี่ยวกับคู่แข่งขัน อาจได้มาจากรายงานประจำปีของบริษัทคู่แข่ง, หนังสือพิมพ์, สื่อต่าง ๆ เช่นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นต้น นอกจากนี้ยังรวมถึงสารสนเทศเกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจของประเทศหรือของโลก เช่น สภาวะเงินเฟ้อ, อัตราภาษี เหล่านี้เป็นต้น

ระบบย่อยและผลที่ได้จากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการเงิน 
          ระบบย่อยในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการเงิน ขึ้นอยู่กับองค์กรและความต้องการขององค์กรนั้น โดยอาจประกอบด้วยระบบภายในและระบบภายนอกที่ช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพการประมวลผลทางธุรกิจของบริษัท เช่น ระบบการจัดหา, การใช้, และการควบคุมเงินสด, ระบบเงินทุนและแหล่งการเงินอื่น ๆ และอาจจะประกอบด้วย ระบบย่อยในการหากำไร/ขาดทุน, ระบบบัญชีค่าใช้จ่ายและระบบการตรวจสอบ โดยระบบต่าง ๆ เหล่านี้จะทำงานประสานกับระบบประมวลผลรายการ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ผู้จัดการด้านการเงินสามารถนำไปใช้ตัดสินใจได้ดีขึ้น ดังนั้นผลลัพธ์ที่ได้จากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการเงิน ได้แก่ รายงานด้านการเงินต่าง ๆ เช่น รายงานกำไร/ขาดทุน, รายงานระบบค่าใช้จ่าย, รายงานการตรวจสอบภายในและภายนอกและรายงานการใช้และการจัดการเงินทุน เป็นต้น