วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

มารู้จักกองทุนกันเถอะ

มารู้จักกองทุนกันเถอะ

RMF เหมาะกับคนทุกกลุ่มที่ต้องการออมเงินเพื่อวัยเกษียณ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนที่ยังไม่มีสวัสดิการออมเงินเพื่อวัยเกษียณ เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) มารองรับ หรือมีสวัสดิการดังกล่าว แต่ยังมีกำลังออมเพิ่มมากกว่านั้นอีก

       นโยบาย การลงทุนของ RMF มีให้เลือกหลากหลายเหมือนกองทุนรวมทั่วไป ตั้งแต่กองทุนที่มีระดับความเสี่ยงต่ำ เน้นลงทุนในตราสารหนี้ เช่น พันธบัตร กองทุนที่มีระดับความเสี่ยงปานกลาง  ที่อาจผสมผสานระหว่างการลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน ไปจนถึงกองทุนที่มีระดับความเสี่ยงสูง เน้นลงทุนในตราสารทุน เช่น หุ้น ใบสำคัญแสดงสิทธิการซื้อหุ้น (warrant)   ข้อแตกต่างของ RMF จากกองทุนรวมทั่ว ๆ ไป ดังนี้ 
1.  หากลงทุนครบตามเงื่อนไขจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี
2.  ไม่สามารถโอน จำนำ หรือนำหน่วยลงทุนไปเป็นหลักประกันได้
3.  ไม่มีการจ่ายเงินปันผล
เงื่อนไขการลงทุนของ RMF เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี มีดังนี้
• ต้องสะสมเงินอย่างต่อเนื่องโดยซื้อหน่วยลงทุนของ RMF ไม่น้อยกว่าปีละ 1 ครั้ง
• ต้องลงทุนขั้นต่ำ 3% ของเงินได้ในแต่ละปี หรือ 5,000 บาท (แล้วแต่ว่าจำนวนใดจะต่ำกว่า) 
• ต้อง ไม่ระงับการซื้อหน่วยลงทุนเกินกว่า 1 ปีติดต่อกัน (ยกเว้นปีใดที่ไม่มีเงินได้ ก็ไม่ต้องลงทุน เนื่องจาก 3% ของเงินได้ 0 บาท เท่ากับ 0 บาท)
• การขายคืนหน่วยลงทุนทำได้เมื่อผู้ลงทุนอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปี และลงทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี

สิทธิประโยชน์ทางภาษีของ RMF
หากปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน ผู้ลงทุนใน RMF จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีถึง 2 ทางด้วยกัน คือ
     ทางที่ 1 เงินซื้อหน่วยลงทุนใน RMF จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 15 % ของเงินได้ในแต่ละปี โดยเมื่อนับรวมกับเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) แล้ว ต้องไม่เกิน 300,000 บาท
     ทางที่ 2 กำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุน (capital gain) ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ หากลงทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี  
  
ลักษณะการผิดเงื่อนไขการลงทุนของ RMF มีดังนี้
1. ระงับการซื้อหน่วยลงทุนเกินกว่า 1 ปีติดต่อกัน หรือ
2. ลงทุนขั้นต่ำไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ หรือ
3. ขายคืนหน่วยลงทุนก่อนที่ผู้ลงทุนจะอายุครบ 55 ปี หรือ
4. ขายคืนหน่วยลงทุนก่อนที่จะมีการลงทุนครบ 5 ปี
                 
               ทั้งนี้ หากเป็นไปตามข้อใดข้อหนึ่ง ก็ถือว่าผิดเงื่อนไขการลงทุนแล้ว ยกเว้นกรณีที่ผู้ลงทุนเสียชีวิตหรือทุพพลภาพ ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าว จะไม่ถือว่าผิดเงื่อนไขการลงทุน  

เมื่อการผิดเงื่อนไขการลงทุนแล้ว ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอีกต่อไปและต้องดำเนินการ ดังนี้
1. กรณีที่ลงทุนไม่ถึง 5 ปี และมีการผิดเงื่อนไข
    •ต้องคืนเงินภาษีที่ได้รับยกเว้นไปในช่วง 5 ปีย้อนหลัง (นับตามปีปฏิทิน) 
    •เมื่อขายคืนหน่วยลงทุน ต้องจ่ายภาษีของกำไรส่วนเกินทุน (capital gain) โดยนำกำไรที่ได้รับจากการขายคืนไปรวมเป็นเงินได้ของปีที่ขายคืนเพื่อเสีย ภาษีเงินได้  ซึ่งในทางปฏิบัติเมื่อผู้ลงทุนขายคืน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมจะหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ของกำไรส่วนเกินทุนไว้ก่อน และเมื่อผู้ลงทุนไปยื่นแบบเสียภาษีเงินได้ ก็จะคำนวณอีกครั้ง ว่าจะต้องจ่ายเงินภาษีเพิ่มอีก หรือไม่ อย่างไร
 
2. กรณีที่ลงทุนตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป และมีการผิดเงื่อนไข
     • ต้องคืนเงินภาษีที่ได้รับยกเว้นไปในช่วง 5 ปีย้อนหลัง (นับตามปีปฏิทิน)
 
          การชำระภาษีตาม 1. และ 2. ต้องชำระภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ผิดเงื่อนไข และ/หรือ ขายคืนหน่วยลงทุน 
 
  
Checklist ก่อนลงทุนใน RMF มีดังนี้     
                
 - ตอบตัวเองว่าต้องการออมเพื่อวัยเกษียณ  
 -มีวินัยในการออมอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง และระยะยาว  
 -รู้จักตัวเอง-รู้ว่ามีเป้าหมายการลงทุนเป็นแบบใด สามารถออมเงินได้มากน้อยเพียงไร และยอมรับความเสี่ยงในการลงทุนได้ขนาดไหน  
 -รู้จักผลิตภัณฑ์-รู้ว่านโยบายการลงทุนของ RMF ที่สนใจจะลงทุนเป็นอย่างไร เช่น มีความเสี่ยงต่ำ ปานกลาง หรือสูง  
 -พิจารณาผลงานของบริษัท คุณภาพในการให้บริการ รวมทั้งการคิดค่าธรรมเนียมจัดการและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ  
  -เลือกลงทุนใน RMF ที่เหมาะสมกับตัวคุณ ทั้งนี้ อย่าลืมใช้หลักการกระจายความเสี่ยงในการลงทุน ที่ว่า “อย่าใส่ไข่ไว้ในตะกร้าใบเดียว” ประกอบการลงทุนด้วย
 

 LTF คืออะไร กองทุนหุ้นระยะยาว ความหมาย LTFย่อมาจากคำว่า Long Term Equity Fund หรือเรียกในชื่อไทยว่า “กองทุนรวมหุ้นระยะยาว” เป็นกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในหุ้น โดยทางการสนับสนุนให้จัดตั้งขึ้นเพื่อเพิ่มสัดส่วนผู้ลงทุนสถาบัน (ซึ่งก็คือ กองทุนรวม) ที่จะลงทุนระยะยาวในตลาดหลักทรัพย์ฯ การเพิ่มผู้ลงทุนสถาบันดังกล่าวจะช่วยให้ตลาดทุนไทยมีเสถียรภาพมากขึ้น ทั้งนี้ ผู้ที่ลงทุนใน LTF ที่เป็นบุคคลธรรมดาจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อเป็นแรงจูงใจในการลง ทุน LTF เหมาะกับคนทุกกลุ่มที่ต้องการลงทุนในหุ้นระยะยาว แต่อาจไม่มีความชำนาญเกี่ยวกับการลงทุนในหุ้น หรือไม่มีเวลา จึงลงทุนผ่านกองทุนรวม ทั้งนี้ ผู้ลงทุนจะต้องเข้าใจและยอมรับความเสี่ยงจากการลงทุน และเงื่อนไขเกี่ยวกับระยะเวลาในการลงทุนได้ นั่นก็คือ ลงทุนแล้วถือหน่วยลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี นโยบายการลงทุน มีแบบเดียว คือ ลงทุนในหุ้นสามัญที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยแต่ละ LTF อาจมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน เช่น บาง LTF อาจเน้นลงทุนในหุ้นกลุ่ม SET 50 หรือหุ้นตามกลุ่มอุตสาหกรรม หรือลงทุนในหุ้นตามที่บริษัทจัดการเห็นควรก็ได้ ขึ้นอยู่กับรายละเอียดนโยบายการลงทุนของ LTF กองนั้น ๆ 

ข้อแตกต่างของ LTF จากกองทุนรวมทั่ว ๆ ไป ดังนี้ 

1. หากลงทุนครบตามเงื่อนไขจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี 
2. ไม่สามารถโอน จำนำ หรือนำหน่วยลงทุนไปเป็นหลักประกันได้
 3. เป็นกองทุนเปิด ซึ่งกำหนดให้ขายคืนหน่วยลงทุนได้ไม่เกินปีละ 2 ครั้ง

เงื่อนไขการลงทุนของ LTF เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี มีดังนี้

เมื่อผู้ลงทุนซื้อ LTF แล้ว ต้องถือหน่วยลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี (นับตามปีปฏิทิน เช่น เงินลงทุนแต่ละยอดที่ซื้อในระหว่างปี 2547 จะครบเงื่อนไขตั้งแต่เดือนมกราคม 2551 เป็นต้นไป และส่วนที่ลงทุนในระหว่างปี 2548 ก็จะครบเงื่อนไขตั้งแต่เดือนมกราคม 2552 เป็นต้นไป โดยในการขายคืนนั้น จะขายคืนเพียงบางส่วนหรือทั้งหมดก็ได้) ทั้งนี้ เงินลงทุนใน LTF ที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี จะต้องเป็นการลงทุนภายในช่วงระยะเวลาไม่เกินปี 2559 เท่านั้น สิทธิประโยชน์ทางภาษีของ LTF หากปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน ผู้ลงทุนใน LTF จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีถึง 2 ทางด้วยกัน คือ ทางที่ 1 เงินซื้อหน่วยลงทุนใน LTF จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 15 % ของเงินได้ในแต่ละปี ทั้งนี้ ต้องไม่เกิน 300,000 บาท ทางที่ 2 กำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุน (capital gain) ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ หากลงทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี 

ลักษณะการผิดเงื่อนไขการลงทุนของ LTF มีดังนี้

 การขายคืนหน่วยลงทุนก่อนครบกำหนด 5 ปีปฏิทิน ถือว่าผิดเงื่อนไขการลงทุน ทั้งนี้ กรณีผู้ลงทุนเสียชีวิตหรือทุพพลภาพ ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าว จะไม่ถือว่าผิดเงื่อนไขการลงทุน เมื่อการผิดเงื่อนไขการลงทุนแล้ว ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอีกต่อไป และต้องดำเนินการดังนี้ 1. ต้องคืนเงินภาษีที่ได้รับยกเว้นไป เฉพาะยอดเงินลงทุนที่ขายคืนพร้อมเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน โดยนับตั้งแต่เดือนเมษายน ของปีที่ผู้ลงทุนยื่นขอยกเว้นภาษี จนถึงเดือนที่มีการยื่นคืนเงินภาษี ดังนั้น ผู้ลงทุนจึงควรยื่นขอคืนเงินภาษีพร้อมเงินเพิ่มทันทีที่มีการทำผิดเงื่อนไข การลงทุน โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ถึงรอบชำระภาษีตามปกติ 2. ต้องจ่ายภาษีของกำไรส่วนเกินทุน (capital gain) โดยนำกำไรที่ได้รับจากการขายคืนไปรวมเป็นเงินได้ของปีที่ขายคืนเพื่อเสีย ภาษีเงินได้ ซึ่งในทางปฏิบัติเมื่อผู้ลงทุนขายคืน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมจะหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ของกำไรส่วนเกินทุนไว้
 ก่อน 

 กองทุน ETF (Exchange Tradad Fund) เป็นกองทุนเปิดที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ทำการซื้อขายสะดวกเหมือนหุ้น แต่กระจายความเสี่ยงเหมือน Index fund ที่เสียค่าบริหารจัดการต่ำกว่ากองทุนประเภทอื่นๆ ผลตอบแทนของกองทุนก็สามารถอ้างอิงกับดัชนีได้ทั้งในตลาดอนุพันธ์และตลาดตรา สารทุน
กองทุนลักษณะนี้จึงถือว่าเป็นกองทุนรูปแบบใหม่ที่จะทำให้เกิด ความหลากหลาย และเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้กับนักลงทุนรายย่อยที่ต้องการลงทุนในตลาดทุน
แต่กลัวเรื่องของความเสี่ยงโดยหันมาลงทุนในกองทุนประเภทนี้ และนักลงทุนสถาบันที่กระจายความเสี่ยงจากการลงทุนเพิ่มเติมได้

Exchangeหมายความว่า มีการนำหน่วยลงทุน ETF ไปจดทะเบียนในตลาดรองหรือ
ตลาดหลักทรัพย์ฯ
Tradedหมาย ความว่า สามารถทำการซื้อขาย ETF ผ่านบริษัทหลักทรัพย์หรือโบรกเกอร์ได้เสมือนกับเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนตัว หนึ่ง ดังนั้น สภาพคล่องของกองทุน ETF
จึงไม่ต่างจากหลักทรัพย์จดทะเบียนทั่วๆ ไปที่สามารถซื้อขายกันได้ตลอดทั้งวัน
นอกจากนี้ ผู้ลงทุนยังสามารถทราบราคาซื้อขายได้ในทันทีแบบ Real Time อีกด้วย
Fundหมายความว่า ETF เป็นกองทุนรวมประเภทหนึ่ง





     เนื่องจากกองทุน ETF เป็นกองทุนที่มีลักษณะเลียนแบบดัชนีทางการเงิน กองทุน ETF จึงสามารถลงทุนใน
หลักทรัพย์ได้ทุกประเภท หากหลักทรัพย์ประเภทนั้นๆ มีดัชนีที่อ้างอิงได้ ตัวอย่างเช่น...
  • กองทุน ETF ที่อ้างอิงดัชนีราคาหุ้น (Equity ETF) ได้แก่
    -
    กองทุน ETF ที่อ้างอิงดัชนีราคาหุ้นโดยรวม เช่น SET50 Index, S&P500 Index, NASDAQ Composite
      Index ฯลฯ
    - กองทุน ETF ที่อ้างอิงดัชนีราคาหุ้นรายกลุ่มอุตสาหกรรม เช่น SET Energy & Utilities Sector Index ฯลฯ
    - กองทุน ETF ที่อ้างอิงดัชนีราคาหุ้นโดยรวมของแต่ละประเทศ หรือดัชนีราคาหุ้นระหว่างประเทศ
    เช่น
      MSCI World Index ฯลฯ

  • กองทุน ETF ที่อ้างอิงดัชนีราคาตราสารหนี้ (Bond ETF) ได้แก่
    - กองทุน ETF ที่อ้างอิงดัชนีราคาพันธบัตรรัฐบาล (Treasury Bond Index)
    - กองทุน ETF ที่อ้างอิงดัชนีร าคาหุ้นกู้บริษัทเอกชน (Corporate Bond Index)
    ฯลฯ

  • กองทุน ETF ที่อ้างอิงหลักทรัพย์หรือดัชนีอื่นๆ ได้แก่
    - กองทุน ETF ที่อ้างอิงดัชนีราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity ETF)
    - กองทุน ETF ที่อ้างอิงดัชนีราคาทองคำ (Gold ETF)
    ฯลฯ แม้ว่ากองทุน ETF จะมีหลากหลายตามประเภทของดัชนีหลักทรัพย์ที่ใช้อ้างอิง เช่น ดัชนีราคาหุ้น ดัชนีราคา
  ตราสารหนี้ หรือดัชนีราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ฯลฯ แต่กองทุน ETF ที่เป็นที่นิยมมากที่สุดก็คือ "กองทุน ETF ที่อ้างอิงดัชนีราคาหุ้น" (Equity ETF) เพราะ ว่าหุ้นเป็นหลักทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง และเป็นที่นิยมของผู้ลงทุนในทุกประเทศ รวมถึงดัชนีที่ใช้อ้างอิงก็มีความหลากหลาย สามารถคำนวณราคาได้ง่าย
จากข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2554 ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีกองทุน ETF จดทะเบียนรวม 8 กองทุน คือ...
ที่มา : www.set.or.th
     อย่าง ไรก็ตาม เนื่องจาก 4 ใน 8 ของกองทุน ETF ที่ซื้อขายในประเทศไทยเป็นกองทุน ETF ที่อ้างอิงดัชนีราคาหุ้น (Equity ETF) ดังนั้น เนื้อหาและตัวอย่างต่างๆ จึงขอเน้นไปที่ Equity ETF เป็นหลัก โดยเฉพาะ "กองทุนเปิด ThaiDEX SET50 ETF" หรือที่เรียกย่อๆ ว่า "TDEX" ซึ่ง เป็น Equity ETF ที่มีขนาดกองทุนใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อีกทั้งยังเป็นที่นิยมของผู้ลงทุนมากที่สุดในบรรดา Equity ETF ทั้ง 4 กองทุน

มารู้จักตลาดการเงินกันเถอะ

มารู้จักตลาดการเงินกันเถอะ

The Stock Exchange of Thailand หรือ SET ก็คือตัวย่อของ "ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย" คะ ซึ่งเป็นศูนย์กลางสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียน เป็นผู้ให้บริการระบบการซื้อขาย หลักทรัพย์ ธุรกิจเกี่ยวกับการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ ( clearing house )รับฝากหลักทรัพย์ (securities depository) นายทะเบียน (registrar) และกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวเนื่องรวมทั้งธุรกิจอื่นๆที่คณะกรรมการกำกับหลัก ทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) อนุมัติ

 

 

 ตลาดแรก

คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ทำหน้าที่กำกับและดูแลตลาดแรก โดยบริษัทใดที่ต้องการออกหลักทรัพย์ใหม่เสนอขายหุ้นต่อประชาชนครั้งแรก (Initial Public Offering) หรือเสนอขายหลักทรัพย์อื่นๆ แก่ประชาชน ต้องขออนุมัติจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) และดำเนินการตามเกณฑ์ที่กำหนด จากนั้นคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์จะต้องตรวจสอบสถานะทาง การเงินและการดำเนินงานของบริษัทนั้นก่อนที่จะอนุมัติให้บริษัททำการออกหลัก ทรัพย์ขายแก่ประชาชนได้
ตลาดรอง
หลังจากการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนครั้งแรก หลักทรัพย์จะสามารถทำการซื้อขายในตลาดรองได้ก็ต่อเมื่อผู้ออกหลักทรัพย์นั้น ได้ยื่นคำขอและได้รับอนุมัติจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแล้ว

  บทบาทตลาดหลักทรัพย์
ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตลาดหลักทรัพย์มีบทบาทสำคัญ ดังนี้
  1. ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียน และพัฒนาระบบต่างๆ ที่จำเป็นเพื่ออำนวยความสะดวกในการซื้อขายหลักทรัพย์
  2. ดำเนินธุรกิจใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหลักทรัพย์ เช่น การทำหน้าที่เป็นสำนักหักบัญชี (Clearing House) ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ นายทะเบียนหลักทรัพย์ หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  3. การดำเนินธุรกิจอื่น ๆ ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

ลักษณะการดำเนินงาน
  • เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517
  • ทำหน้าที่ส่งเสริมการออมและการ ระดมเงินทุนระยะยาวเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และเป็นศูนย์กลางในการซื้อขายหลักทรัพย์และให้บริการที่เกี่ยวข้อง โดยไม่นำผลกำไรมาแบ่งปันกัน
  • สนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของกิจการธุรกิจและอุตสาหกรรมภายในประเทศ
  • เริ่มเปิดทำการซื้อขายหลักทรัพย์เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2518
  • ปัจจุบันดำเนินงานภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
  • การดำเนินงานหลัก ได้แก่ การรับหลักทรัพย์จดทะเบียนและดูแลการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทจดทะเบียน การซื้อขายหลักทรัพย์และการกำกับดูแลการซื้อขายหลักทรัพย์ การกำกับดูแลบริษัทสมาชิกส่วนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหลักทรัพย์ ตลอดจนถึงการเผยแพร่ข้อมูลและการส่งเสริมความรู้ให้แก่ผู้ลงทุน


สมาชิกภาพองค์กรระหว่างประเทศ
  • สหพันธ์ตลาดหลักทรัพย์ภาคพื้นเอเชียและโอเชียเนีย (Asian and Oceanian Stock Exchanges Federation - AOSEF) ตลาดหลักทรัพย์ฯ เข้าเป็นสมาชิกในปีพ.ศ. 2525

  • องค์กรคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์นานาชาติ (International Organization of Securities Commissions -IOSCO) ตลาดหลักทรัพย์ฯ เข้าเป็นสมาชิกประเภท full member ในปีพ.ศ. 2533 และเปลี่ยนเป็น affiliate member ในปีพ.ศ. 2535 เนื่องจากมีการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการก.ล.ต.

  • สหพันธ์ตลาดหลักทรัพย์นานาชาติ (The World Federation of Exchanges - WFE)
    ตลาดหลักทรัพย์ฯ เข้าเป็นสมาชิกในปี 2533

 

ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (Market for Alternative Investment - MAI) เป็นตลาดหลักทรัพย์แห่งที่สองของประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2542 และเปิดทำการซื้อขายวันแรกเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2544 มีจุดประสงค์การทำงานโดยทั่วไป เหมือนกับ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) คือ ทำหน้าที่เป็นตลาดทุน เพื่อให้กิจการต่างๆ สามารถระดมเงินทุนเพิ่มเติมจากสาธารณะได้ แต่ตลาดใหม่นี้ จะเน้นไปที่กิจการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี - SME) และกิจการเกี่ยวกับนวัตกรรม โดยได้ผ่อนผันหลักเกณฑ์ต่างๆ ลง เช่น ทุนชำระแล้วขั้นต่ำของหลักทรัพย์ในตลาดหลัก คือ 200 ล้านบาท ในขณะที่ขั้นต่ำของตลาดใหม่ ลดลงเป็น 40 ล้านบาท เป็นต้น เพื่อเปิดโอกาสให้กิจการขนาดเล็ก ที่ไม่สามารถเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ ได้มีหนทางในการระดมทุน รวมทั้งสนับสนุนอุตสาหกรรมการร่วมลงทุน (venture capital) เพื่อเพิ่มจำนวนบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์คนปัจจุบันคือ ชนิตร ชาญชัยณรงค์ (ตั้งแต่ กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549)

 ตลาดตราสารหนี้ (Bond Electronic Exchange: BEX)
จัด ตั้งขึ้นโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเปิดให้บริการการซื้อขายแก่นักลงทุนทั่วไป ตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 โดยให้บริการผ่านระบบการซื้อขายแบบเรียลไทม์ มีข้อมูลที่โปร่งใส ตลอดจนถึงกระบวนการส่งมอบและชำระราคาที่เชื่อถือได้ เพื่อที่จะพัฒนาตลาดตราสารหนี้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งในด้านปริมาณการซื้อขาย คุณภาพของตราสารหนี้ ตัวกลางการซื้อขาย และแหล่งข้อมูลอ้างอิง โดยมีเป้าหมายในการดำเนินการตลาดรองตราสารหนี้ที่สมบูรณ์แบบของประเทศไทย ให้บริการครอบคลุมผู้ลงทุนและผู้ค้าตราสารหนี้ทั้งหมด


บริษัท ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ
Thailand Futures Exchange PCL: TFEX

เป็นบริษัทย่อยของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2547 เพื่อเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 โดยมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาตลาดการซื้อขายอนุพันธ์แห่งนี้ให้มีสภาพคล่อง มีความหลากหลายของสินค้า ประเภทของสมาชิกและจำนวนผู้ซื้อขาย และมีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้ประกอบการและผู้ลงทุนสามารถใช้บริการได้อย่างมีความเชื่อมั่นและ มีความน่าเชื่อถือ โดยการพัฒนาตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในประเทศไทยจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ ลงทุนในตลาดทุนไทย และมีส่วนช่วยพัฒนาระบบเศรษฐกิจโดยรวม ตลอดจนเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศในระดับสากล

 ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (AFET) เป็นศูนย์กลางในการซื้อขาย Futures ที่อ้างอิงมูลค่าจากราคาสินค้าเกษตรประเภทต่างๆ ได้แก่ ยางพารา ข้าว และมันสำปะหลัง ซึ่งนอกจากนักลงทุนจะเข้ามาแสวงหาผลกำไรจากการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าแล้ว การลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าด้านสินค้าเกษตรในตลาด AFET ยังเป็นเพียงช่องทางเดียวที่นักลงทุนในประเทศจะสามารถลงทุนในสินทรัพย์ Commodities ได้ โดยไม่ต้องทำธุรกิจค้าขายในสินค้านั้นๆ ในขณะเดียวกันผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจค้าขายสินค้าเกษตรก็สามารถเข้ามาใช้ Futures เป็นเครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาสินค้านั้นๆ ได้อีกด้วย