วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

มารู้จักกองทุนกันเถอะ

มารู้จักกองทุนกันเถอะ

RMF เหมาะกับคนทุกกลุ่มที่ต้องการออมเงินเพื่อวัยเกษียณ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนที่ยังไม่มีสวัสดิการออมเงินเพื่อวัยเกษียณ เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) มารองรับ หรือมีสวัสดิการดังกล่าว แต่ยังมีกำลังออมเพิ่มมากกว่านั้นอีก

       นโยบาย การลงทุนของ RMF มีให้เลือกหลากหลายเหมือนกองทุนรวมทั่วไป ตั้งแต่กองทุนที่มีระดับความเสี่ยงต่ำ เน้นลงทุนในตราสารหนี้ เช่น พันธบัตร กองทุนที่มีระดับความเสี่ยงปานกลาง  ที่อาจผสมผสานระหว่างการลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน ไปจนถึงกองทุนที่มีระดับความเสี่ยงสูง เน้นลงทุนในตราสารทุน เช่น หุ้น ใบสำคัญแสดงสิทธิการซื้อหุ้น (warrant)   ข้อแตกต่างของ RMF จากกองทุนรวมทั่ว ๆ ไป ดังนี้ 
1.  หากลงทุนครบตามเงื่อนไขจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี
2.  ไม่สามารถโอน จำนำ หรือนำหน่วยลงทุนไปเป็นหลักประกันได้
3.  ไม่มีการจ่ายเงินปันผล
เงื่อนไขการลงทุนของ RMF เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี มีดังนี้
• ต้องสะสมเงินอย่างต่อเนื่องโดยซื้อหน่วยลงทุนของ RMF ไม่น้อยกว่าปีละ 1 ครั้ง
• ต้องลงทุนขั้นต่ำ 3% ของเงินได้ในแต่ละปี หรือ 5,000 บาท (แล้วแต่ว่าจำนวนใดจะต่ำกว่า) 
• ต้อง ไม่ระงับการซื้อหน่วยลงทุนเกินกว่า 1 ปีติดต่อกัน (ยกเว้นปีใดที่ไม่มีเงินได้ ก็ไม่ต้องลงทุน เนื่องจาก 3% ของเงินได้ 0 บาท เท่ากับ 0 บาท)
• การขายคืนหน่วยลงทุนทำได้เมื่อผู้ลงทุนอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปี และลงทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี

สิทธิประโยชน์ทางภาษีของ RMF
หากปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน ผู้ลงทุนใน RMF จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีถึง 2 ทางด้วยกัน คือ
     ทางที่ 1 เงินซื้อหน่วยลงทุนใน RMF จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 15 % ของเงินได้ในแต่ละปี โดยเมื่อนับรวมกับเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) แล้ว ต้องไม่เกิน 300,000 บาท
     ทางที่ 2 กำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุน (capital gain) ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ หากลงทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี  
  
ลักษณะการผิดเงื่อนไขการลงทุนของ RMF มีดังนี้
1. ระงับการซื้อหน่วยลงทุนเกินกว่า 1 ปีติดต่อกัน หรือ
2. ลงทุนขั้นต่ำไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ หรือ
3. ขายคืนหน่วยลงทุนก่อนที่ผู้ลงทุนจะอายุครบ 55 ปี หรือ
4. ขายคืนหน่วยลงทุนก่อนที่จะมีการลงทุนครบ 5 ปี
                 
               ทั้งนี้ หากเป็นไปตามข้อใดข้อหนึ่ง ก็ถือว่าผิดเงื่อนไขการลงทุนแล้ว ยกเว้นกรณีที่ผู้ลงทุนเสียชีวิตหรือทุพพลภาพ ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าว จะไม่ถือว่าผิดเงื่อนไขการลงทุน  

เมื่อการผิดเงื่อนไขการลงทุนแล้ว ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอีกต่อไปและต้องดำเนินการ ดังนี้
1. กรณีที่ลงทุนไม่ถึง 5 ปี และมีการผิดเงื่อนไข
    •ต้องคืนเงินภาษีที่ได้รับยกเว้นไปในช่วง 5 ปีย้อนหลัง (นับตามปีปฏิทิน) 
    •เมื่อขายคืนหน่วยลงทุน ต้องจ่ายภาษีของกำไรส่วนเกินทุน (capital gain) โดยนำกำไรที่ได้รับจากการขายคืนไปรวมเป็นเงินได้ของปีที่ขายคืนเพื่อเสีย ภาษีเงินได้  ซึ่งในทางปฏิบัติเมื่อผู้ลงทุนขายคืน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมจะหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ของกำไรส่วนเกินทุนไว้ก่อน และเมื่อผู้ลงทุนไปยื่นแบบเสียภาษีเงินได้ ก็จะคำนวณอีกครั้ง ว่าจะต้องจ่ายเงินภาษีเพิ่มอีก หรือไม่ อย่างไร
 
2. กรณีที่ลงทุนตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป และมีการผิดเงื่อนไข
     • ต้องคืนเงินภาษีที่ได้รับยกเว้นไปในช่วง 5 ปีย้อนหลัง (นับตามปีปฏิทิน)
 
          การชำระภาษีตาม 1. และ 2. ต้องชำระภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ผิดเงื่อนไข และ/หรือ ขายคืนหน่วยลงทุน 
 
  
Checklist ก่อนลงทุนใน RMF มีดังนี้     
                
 - ตอบตัวเองว่าต้องการออมเพื่อวัยเกษียณ  
 -มีวินัยในการออมอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง และระยะยาว  
 -รู้จักตัวเอง-รู้ว่ามีเป้าหมายการลงทุนเป็นแบบใด สามารถออมเงินได้มากน้อยเพียงไร และยอมรับความเสี่ยงในการลงทุนได้ขนาดไหน  
 -รู้จักผลิตภัณฑ์-รู้ว่านโยบายการลงทุนของ RMF ที่สนใจจะลงทุนเป็นอย่างไร เช่น มีความเสี่ยงต่ำ ปานกลาง หรือสูง  
 -พิจารณาผลงานของบริษัท คุณภาพในการให้บริการ รวมทั้งการคิดค่าธรรมเนียมจัดการและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ  
  -เลือกลงทุนใน RMF ที่เหมาะสมกับตัวคุณ ทั้งนี้ อย่าลืมใช้หลักการกระจายความเสี่ยงในการลงทุน ที่ว่า “อย่าใส่ไข่ไว้ในตะกร้าใบเดียว” ประกอบการลงทุนด้วย
 

 LTF คืออะไร กองทุนหุ้นระยะยาว ความหมาย LTFย่อมาจากคำว่า Long Term Equity Fund หรือเรียกในชื่อไทยว่า “กองทุนรวมหุ้นระยะยาว” เป็นกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในหุ้น โดยทางการสนับสนุนให้จัดตั้งขึ้นเพื่อเพิ่มสัดส่วนผู้ลงทุนสถาบัน (ซึ่งก็คือ กองทุนรวม) ที่จะลงทุนระยะยาวในตลาดหลักทรัพย์ฯ การเพิ่มผู้ลงทุนสถาบันดังกล่าวจะช่วยให้ตลาดทุนไทยมีเสถียรภาพมากขึ้น ทั้งนี้ ผู้ที่ลงทุนใน LTF ที่เป็นบุคคลธรรมดาจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อเป็นแรงจูงใจในการลง ทุน LTF เหมาะกับคนทุกกลุ่มที่ต้องการลงทุนในหุ้นระยะยาว แต่อาจไม่มีความชำนาญเกี่ยวกับการลงทุนในหุ้น หรือไม่มีเวลา จึงลงทุนผ่านกองทุนรวม ทั้งนี้ ผู้ลงทุนจะต้องเข้าใจและยอมรับความเสี่ยงจากการลงทุน และเงื่อนไขเกี่ยวกับระยะเวลาในการลงทุนได้ นั่นก็คือ ลงทุนแล้วถือหน่วยลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี นโยบายการลงทุน มีแบบเดียว คือ ลงทุนในหุ้นสามัญที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยแต่ละ LTF อาจมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน เช่น บาง LTF อาจเน้นลงทุนในหุ้นกลุ่ม SET 50 หรือหุ้นตามกลุ่มอุตสาหกรรม หรือลงทุนในหุ้นตามที่บริษัทจัดการเห็นควรก็ได้ ขึ้นอยู่กับรายละเอียดนโยบายการลงทุนของ LTF กองนั้น ๆ 

ข้อแตกต่างของ LTF จากกองทุนรวมทั่ว ๆ ไป ดังนี้ 

1. หากลงทุนครบตามเงื่อนไขจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี 
2. ไม่สามารถโอน จำนำ หรือนำหน่วยลงทุนไปเป็นหลักประกันได้
 3. เป็นกองทุนเปิด ซึ่งกำหนดให้ขายคืนหน่วยลงทุนได้ไม่เกินปีละ 2 ครั้ง

เงื่อนไขการลงทุนของ LTF เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี มีดังนี้

เมื่อผู้ลงทุนซื้อ LTF แล้ว ต้องถือหน่วยลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี (นับตามปีปฏิทิน เช่น เงินลงทุนแต่ละยอดที่ซื้อในระหว่างปี 2547 จะครบเงื่อนไขตั้งแต่เดือนมกราคม 2551 เป็นต้นไป และส่วนที่ลงทุนในระหว่างปี 2548 ก็จะครบเงื่อนไขตั้งแต่เดือนมกราคม 2552 เป็นต้นไป โดยในการขายคืนนั้น จะขายคืนเพียงบางส่วนหรือทั้งหมดก็ได้) ทั้งนี้ เงินลงทุนใน LTF ที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี จะต้องเป็นการลงทุนภายในช่วงระยะเวลาไม่เกินปี 2559 เท่านั้น สิทธิประโยชน์ทางภาษีของ LTF หากปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน ผู้ลงทุนใน LTF จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีถึง 2 ทางด้วยกัน คือ ทางที่ 1 เงินซื้อหน่วยลงทุนใน LTF จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 15 % ของเงินได้ในแต่ละปี ทั้งนี้ ต้องไม่เกิน 300,000 บาท ทางที่ 2 กำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุน (capital gain) ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ หากลงทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี 

ลักษณะการผิดเงื่อนไขการลงทุนของ LTF มีดังนี้

 การขายคืนหน่วยลงทุนก่อนครบกำหนด 5 ปีปฏิทิน ถือว่าผิดเงื่อนไขการลงทุน ทั้งนี้ กรณีผู้ลงทุนเสียชีวิตหรือทุพพลภาพ ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าว จะไม่ถือว่าผิดเงื่อนไขการลงทุน เมื่อการผิดเงื่อนไขการลงทุนแล้ว ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอีกต่อไป และต้องดำเนินการดังนี้ 1. ต้องคืนเงินภาษีที่ได้รับยกเว้นไป เฉพาะยอดเงินลงทุนที่ขายคืนพร้อมเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน โดยนับตั้งแต่เดือนเมษายน ของปีที่ผู้ลงทุนยื่นขอยกเว้นภาษี จนถึงเดือนที่มีการยื่นคืนเงินภาษี ดังนั้น ผู้ลงทุนจึงควรยื่นขอคืนเงินภาษีพร้อมเงินเพิ่มทันทีที่มีการทำผิดเงื่อนไข การลงทุน โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ถึงรอบชำระภาษีตามปกติ 2. ต้องจ่ายภาษีของกำไรส่วนเกินทุน (capital gain) โดยนำกำไรที่ได้รับจากการขายคืนไปรวมเป็นเงินได้ของปีที่ขายคืนเพื่อเสีย ภาษีเงินได้ ซึ่งในทางปฏิบัติเมื่อผู้ลงทุนขายคืน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมจะหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ของกำไรส่วนเกินทุนไว้
 ก่อน 

 กองทุน ETF (Exchange Tradad Fund) เป็นกองทุนเปิดที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ทำการซื้อขายสะดวกเหมือนหุ้น แต่กระจายความเสี่ยงเหมือน Index fund ที่เสียค่าบริหารจัดการต่ำกว่ากองทุนประเภทอื่นๆ ผลตอบแทนของกองทุนก็สามารถอ้างอิงกับดัชนีได้ทั้งในตลาดอนุพันธ์และตลาดตรา สารทุน
กองทุนลักษณะนี้จึงถือว่าเป็นกองทุนรูปแบบใหม่ที่จะทำให้เกิด ความหลากหลาย และเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้กับนักลงทุนรายย่อยที่ต้องการลงทุนในตลาดทุน
แต่กลัวเรื่องของความเสี่ยงโดยหันมาลงทุนในกองทุนประเภทนี้ และนักลงทุนสถาบันที่กระจายความเสี่ยงจากการลงทุนเพิ่มเติมได้

Exchangeหมายความว่า มีการนำหน่วยลงทุน ETF ไปจดทะเบียนในตลาดรองหรือ
ตลาดหลักทรัพย์ฯ
Tradedหมาย ความว่า สามารถทำการซื้อขาย ETF ผ่านบริษัทหลักทรัพย์หรือโบรกเกอร์ได้เสมือนกับเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนตัว หนึ่ง ดังนั้น สภาพคล่องของกองทุน ETF
จึงไม่ต่างจากหลักทรัพย์จดทะเบียนทั่วๆ ไปที่สามารถซื้อขายกันได้ตลอดทั้งวัน
นอกจากนี้ ผู้ลงทุนยังสามารถทราบราคาซื้อขายได้ในทันทีแบบ Real Time อีกด้วย
Fundหมายความว่า ETF เป็นกองทุนรวมประเภทหนึ่ง





     เนื่องจากกองทุน ETF เป็นกองทุนที่มีลักษณะเลียนแบบดัชนีทางการเงิน กองทุน ETF จึงสามารถลงทุนใน
หลักทรัพย์ได้ทุกประเภท หากหลักทรัพย์ประเภทนั้นๆ มีดัชนีที่อ้างอิงได้ ตัวอย่างเช่น...
  • กองทุน ETF ที่อ้างอิงดัชนีราคาหุ้น (Equity ETF) ได้แก่
    -
    กองทุน ETF ที่อ้างอิงดัชนีราคาหุ้นโดยรวม เช่น SET50 Index, S&P500 Index, NASDAQ Composite
      Index ฯลฯ
    - กองทุน ETF ที่อ้างอิงดัชนีราคาหุ้นรายกลุ่มอุตสาหกรรม เช่น SET Energy & Utilities Sector Index ฯลฯ
    - กองทุน ETF ที่อ้างอิงดัชนีราคาหุ้นโดยรวมของแต่ละประเทศ หรือดัชนีราคาหุ้นระหว่างประเทศ
    เช่น
      MSCI World Index ฯลฯ

  • กองทุน ETF ที่อ้างอิงดัชนีราคาตราสารหนี้ (Bond ETF) ได้แก่
    - กองทุน ETF ที่อ้างอิงดัชนีราคาพันธบัตรรัฐบาล (Treasury Bond Index)
    - กองทุน ETF ที่อ้างอิงดัชนีร าคาหุ้นกู้บริษัทเอกชน (Corporate Bond Index)
    ฯลฯ

  • กองทุน ETF ที่อ้างอิงหลักทรัพย์หรือดัชนีอื่นๆ ได้แก่
    - กองทุน ETF ที่อ้างอิงดัชนีราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity ETF)
    - กองทุน ETF ที่อ้างอิงดัชนีราคาทองคำ (Gold ETF)
    ฯลฯ แม้ว่ากองทุน ETF จะมีหลากหลายตามประเภทของดัชนีหลักทรัพย์ที่ใช้อ้างอิง เช่น ดัชนีราคาหุ้น ดัชนีราคา
  ตราสารหนี้ หรือดัชนีราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ฯลฯ แต่กองทุน ETF ที่เป็นที่นิยมมากที่สุดก็คือ "กองทุน ETF ที่อ้างอิงดัชนีราคาหุ้น" (Equity ETF) เพราะ ว่าหุ้นเป็นหลักทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง และเป็นที่นิยมของผู้ลงทุนในทุกประเทศ รวมถึงดัชนีที่ใช้อ้างอิงก็มีความหลากหลาย สามารถคำนวณราคาได้ง่าย
จากข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2554 ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีกองทุน ETF จดทะเบียนรวม 8 กองทุน คือ...
ที่มา : www.set.or.th
     อย่าง ไรก็ตาม เนื่องจาก 4 ใน 8 ของกองทุน ETF ที่ซื้อขายในประเทศไทยเป็นกองทุน ETF ที่อ้างอิงดัชนีราคาหุ้น (Equity ETF) ดังนั้น เนื้อหาและตัวอย่างต่างๆ จึงขอเน้นไปที่ Equity ETF เป็นหลัก โดยเฉพาะ "กองทุนเปิด ThaiDEX SET50 ETF" หรือที่เรียกย่อๆ ว่า "TDEX" ซึ่ง เป็น Equity ETF ที่มีขนาดกองทุนใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อีกทั้งยังเป็นที่นิยมของผู้ลงทุนมากที่สุดในบรรดา Equity ETF ทั้ง 4 กองทุน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น